เปลี่ยนหรือปะ?

คุณอาจจะเคยได้ยินบรรดาญาติ ๆ หรือเพื่อนของคุณที่กังวลเรื่องอายุการใช้งานยางรถยนต์ ว่ายางรถยนต์ใช้ได้กี่ปี ? หรือยางรถยนต์ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ บอกว่าควรเปลี่ยนอย่างเป็นประจำ ซึ่งอาจจะเปลี่ยนทุก ๆ 3 ปี หรือหลังจากที่ขับได้ระยะทาง 30,000 กิโลเมตร ถึงแม้เรื่องนี้จะดูมีเหตุผล แต่การเปลี่ยนยางตามอายุการใช้งานยางรถยนต์ หรือระยะทางนั้นไม่เป็นความจริงแต่อย่างใด
การสึกหรอของยางขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ได้แก่ ภูมิอากาศ สภาพถนนและสไตล์กับขับขี่รถยนต์ของผู้ใช้รถแต่ละคนดังนั้นหากคิดว่ายางรถยนต์ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่หรือยางรถยนต์ใช้ได้กี่ปี ? แทนที่เราจะเปลี่ยนยางตามอายุการใช้งานยางรถยนต์และระยะทาง เราควรจะดูจากความลึกของร่องดอกยางแทนจะดีที่สุด
เมื่อจะต้องเปลี่ยนยาง แทนที่จะปะยาง การเปลี่ยนยางพร้อมกันทั้ง 4 เส้นคือความคิดที่ดี เพราะคุณภาพยางที่แตกต่างกัน 4 ล้ออาจส่งผลให้เราไม่สามารถควบคุมรถได้ดีเท่าที่ควร และอาจทำให้เกิดอุบัติเหตุในการขับขี่ได้ แต่ถ้าในกรณีที่สามารถเปลี่ยนยางได้เพียง 2 เส้นเท่านั้น ให้นำยางรถยนต์ใหม่ไปใส่ที่ล้อหลัง เพื่อการยึดเกาะถนนและเสถียรภาพที่ดีขึ้น

ความเสียหายของยางรูปแบบไหนที่ต้องได้รับการเปลี่ยนยางทันที

ยางรถยนต์ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่ในบางสภาวะที่ยางของคุณได้รับความเสียหายอย่าง ยางแตก คุณอาจต้องเปลี่ยนยางก่อนกำหนดแม้ว่าจะไม่ได้เจอกับอาการรถยางรั่วหรือการปะยางรถ

ยางของคุณอาจได้รับความเสียหายจากสาเหตุหลายประการ และอาจก่อให้เกิดปัญหาได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว สำหรับผู้ขับขี่ส่วนใหญ่ ปัญหายางเสียหายจนต้องปะยางที่พบบ่อย ได้แก่ รอยฉีกรอยยางรั่วและรอยนูน

รอยฉีก หรือรอยยางรั่วจนต้องปะยางรถยนต์อาจเกิดมาจากปัจจัยภายนอก เช่น สภาพถนนที่ไม่ดี ตัวถังรถที่ยื่นออกมาหรือโดนวัตถุแปลกปลอมที่มีความแหลมคมบนท้องถนนอย่างก้อนหินหรือเศษแก้ว หากยางฉีดขาดหรือยางรั่ว อาจทำให้สายไนลอนและโครงสร้างภายในของยางเสียหายได้

รอยนูน บนยางรถบ่งบอกถึงโครงสร้างภายในยางรถยนต์ได้รับความเสียหาย อาจเกิดจากการกระทบกับขอบถนน ตกหลุมบ่อ หรือชนกับเกาะกลางถนนด้วยความเร็วสูง ผลกระทบจากปัจจัยดังกล่าวทำให้โครงยางรับแรงกระแทกมากเกินไป ส่งผลให้ลวดใยเหล็กเส้นฉีกขาด นอกจากพิจารณาขนาดของแผล ที่ต้องไม่ใหญ่เกิน 6 มิลลิเมตรความเสียหายไม่มากกว่า 2 ตำแหน่ง

บาดแผลบริเวณหน้ายาง (Tread) สามารถปะได้ โดยพิจารณาขนาดบาดแผล และ ประเภทการปะซ่อมยางอีกครั้ง

บาดแผลบริเวณไหล่ยาง (Sidewall) บริเวณไหล่ยางหรือ แก้มยาง หรือ ด้านข้างขอบยาง บริเวณนี้มีความยืดหยุ่นสูง และไม่มีเส้นลวดไม่แนะนำให้ปะ หากเกิดบาดแผลเสียหายแนะนำให้

เปลี่ยนยางใหม่

ประเภทการปะซ่อมยางรถยนต์

1.การปะยางแทงใยไหม หรือ ตัวหนอน (Tire Patching) ไม่ต้องถอดยากออกจากแม็กหรือกระทะล้อ ใช้ไหมหรือใยสังเคราะห์แทงเข้าไปในรูที่เกิดจากการตำของตะปูต่างๆแท่งใยที่ถูกแทงเข้าไปจะช่วยอุดรูรั่วนั้นไว้

2.การปะแบบดอกเห็ด (Mushroom Puncture Repair) ต้องถอดยางออกมา และใช้แผ่นยางวงกลมที่มีไส้ ลักษณะคล้ายดอกเห็ดโดยจะมีการเจียรขัดผิวรอบๆ รูที่รั่วจากด้านในก่อน จากนั้นใช้กาวยางทาลงไป นำยางรูปดอกเห็ดปะเข้าไปการปะแบบนี้ใช้กับแผลที่ใหญ่กว่าการปะแบบแทงใยไหม(ตัวหนอน) โดยจะมีขนาด ของตัวปะหลายๆ ขนาดให้เลือกตามขนาดบาดแผล

การปะแบบสตรีม หรือ ปะด้วยความร้อนเป็นการปะที่ต้องถอดยางออกมาใช้ยางแผ่นขนาดเล็กไปทำให้ร้อนและนำมาปะติดกับด้านในของยางบริเวณที่มีบาดแผล ให้แผ่นยางละลายติดกับเนื้อยางด้านใน แต่การปะแบบนี้อาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของล้อ ยางอาจจะแข็ง และบวมได้และร้านยางต่างๆ ไม่แนะนำ และไม่ค่อยมีให้บริการ

Reference

ยางรถยนต์ควรเปลี่ยนเมื่อไหร่หลังยางรั่ว และปะยางรถ

URL : https://www.bridgestone.co.th/th/tire-clinic/tire-talk/when-to-replace-your-tyres