โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์ (Basic Structure)
การจำแนกประเภทของยางรถยนต์
การจำแนกตามลักษณะโครงสร้างของยาง สามารถแบ่งเป็น 2 แบบคือยางเรเดียลและยางผ้าใบ(ยางแบบธรรมดา)
โครงสร้างแบบธรรมดา (Bias Construction)
โครงยาง (Carcass) ถูกจัดวางให้อยู่แนวทแยง จากขอบยางด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง วางทำมุมกัน 40 - 65 องศา โดยแต่ละชั้น (Ply) ของโครงยางจะวางสลับกัน และจะมีผ้าใบเสริมหน้ายางคาด ป้องกันโครงยางเอาไว้ด้วย
วัสดุที่ใช้
- โครงยางและผ้าใบเสริมหน้ายางประกอบด้วยเส้นใยไนล่อน
คุณลักษณะ
- ให้ความนุ่มนวลในการขับขี่ที่ดี
- ความทนทานต่อการสึกหรอ และการทรงตัวขณะขับขี่จะด้อยกว่ายางเรเดียล
โครงสร้างแบบเรดียล (Radial Construction)
โครงยาง (Carcass) ได้ถูกออกแบบให้มีแนวเส้นคอร์ด (Cord) อยู่ในแนวเส้นตรงจากขอบยางด้านหนึ่งไปยังขอบอีกด้านหนึ่ง หรือ เส้นคอร์ดไปตามแนวรัศมีขอเส้นยางหรือโครงยางจะวางทำมุม 90 องศา กันเส้นรอบวงยาง โดยมีเข็มขัดรัดหน้ายางคาดยึดโครงยางเอาไว้ในแนวเส้นรอบวง ทำให้หน้ายาง (Tread) มีความแข็งแรง
วัสดุที่ใช้
- โครงยาง : เส้นลวดเหล็กกล้า
- เข็มขัดรัดหน้ายาง : วัสดุยืดตัวน้อย เช่น โพลีเอสเตอร์,เส้นลวดเหล็กกล้า
คุณลักษณะ
- ทนทานต่อการสึกหรอดี
- การทรงตัวขณะขับขี่ที่ความเร็วสูงดี
- หยุดรถได้อย่างมั่นใจ
- เกิดความร้อนภายในยางน้อย
- การประหยัดน้ำมันเชื้อเพลิง
- พวงมาลัยหนักที่ความเร็วต่ำ
สรุปความแตกต่างระหว่างยางเรเดียลกับยางผ้าใบ
ตารางเปรียบเทียบประสิทธิภาพจองยางรถยนต์ ที่มีโครงสร้างยางแบบต่าง ๆ
ประสิทธิภาพของยาง | ธรรมดา | เรเดียล |
---|---|---|
ความต้านทานต่อการสึกหรอ | 1 | ดีกว่า 2-2.5 เท่า |
ความทนทานที่ความเร็วสูง | 1 | ดีกว่า 1.2-15 เท่า |
การทรงตัวที่ความเร็วสูง | 1 | ดีกว่า 1.3-1.5 เท่า |
ประสิทธิภาพในการหยุดรถ | 1 | ดีกว่า 20% |
ประสิทธิภาพของยาง | ธรรมดา | เรเดียล |
---|---|---|
ความนุ่มนวลในการขับขี่ | ||
|
1 | ใกล้เคียงกัน |
|
1 | เท่ากัน |
การประหยัดน้ำมัน | 1 | ประหยัดกว่า 30% |
การจำแนกตามวิธีการเก็บรักษาความดันลมภายในยาง
ยางรถชนิดใช้ยางใน (Tube Type Tire) ยางใน (Tube) ทำหน้าที่เก็บรักษาความดันลมภายในยาง โดยแยกเป็นคนละส่วนกับยางนอกดังนั้น วาล์ว (Valve) สำหรับเติมลมก็จะเป็นส่วนหนึ่งของยางใน
ยางรถยนต์ชนิดไม่ใช้ยางใน (Tubeless Tire)
โดยบริเวณท้องยางด้านในจะมีเนื้อยางพิเศษฉาบอยู่ และอบสุกติดมาพร้อมกับยางนอกทำหน้าที่เก็บรักษาความดันลมภายในยางแทนยางใน (Tube) ดังนั้น วาล์ว (Valve) สำหรับเติมลมจะยึดติดเข้ากับกระทะล้อ
Reference
โครงสร้างพื้นฐานของยางรถยนต์
3 พฤศจิกายน 2564
URL : https://bridgestonetruckcenter.com/blog/post/detail/51